วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน

JOURNAL OF RENEWABLE ENERGY FOR COMMUNITY
ISSN 2630-0273
ISSN 2773-8639 (Online)

นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ

  1. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาด้านพลังงานทดแทนต่างๆ ครอบคลุมกระบวนในการวิจัยและการศึกษาสู่ภาคการใช้งาน ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
  4. การยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง

ขั้นตอนการส่งบทความ

คำแนะนำในการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

ประเภทผลงานที่จะตีพิมพ์ ประกอบด้วย บทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article)  

ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย พลังงานทดแทนต่างๆ ครอบคลุมกระบวนในการวิจัยและการศึกษาสู่ภาคการใช้งาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับ 3 กันยายน – ธันวาคม)

การจัดพิมพ์ต้นฉบับ (Author Guidelines)

  1. บทความ รวมเอกสารอ้างอิงและอื่นๆ ควรมีความยาวไม่เกิน 20 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Font TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 pt. จัดหน้ากระดาษแบบกระจายแบบไทย พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word for Windows
  2. ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านขวา 2.5 ซม. ด้านซ้าย 3 ซม.
  3. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านล่างกึ่งกลางของหน้ากระดาษ ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
  4. ชื่อเรื่องบทความ ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา
  5. ชื่อผู้เขียนระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิ โดยให้มีการกำกับเลขยกกำลังต่อท้ายนามสกุล ขนาดตัวอักษร 14 Point พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 1 บรรทัด จัดกึ่งกลาง ขีดเส้นใต้ ชื่อ-สกุล ผู้นำเสนอและใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ท้ายนามสกุลสำหรับ Corresponding และอีเมลให้ระบุเป็นเชิงอรรถ สำหรับหน่วยงานที่สังกัดเป็นบรรทัดถัดมา ให้อ้างอิงเลขลำดับไว้หน้าชื่อหน่วยงาน
  6. ชื่อบทคัดย่อมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลาง
  7. เนื้อหาบทคัดย่อมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 pt.
  8. ชื่อคำสำคัญมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 pt (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย แล้วตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค ( : )
  9. เนื้อหาคำสำคัญ ขนาดตัวอักษร 14 pt
  10. ชื่อหัวเรื่องใหญ่ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลาง ไม่ใส่เลขลำดับที่
  11. เนื้อหาบทความ ขนาดตัวอักษร 14 pt. เว้นแต่ละบรรทัด 1 line space
  12. ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย
  13. ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  14. ชื่อเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) กึ่งกลางหน้ากระดาษ
  15. เนื้อหาเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตามรูปแบบ Vancouver Style) การอ้างอิงในเนื้อหาให้อ้างอิงเลขลำดับที่ โดยระบุเลขในวงเล็บ [ ] ท้ายข้อความตามลำดับการอ้างอิง สำหรับการอ้างอิงท้ายบทความ เรียงลำดับตามหมายเลข โดยไม่ต้องแยกภาษาและประเภทของเอกสารอ้างอิง โดยมีรูปแบบดังนี้ [หมายเลข] ชื่อผู้แต่ง, ชื่อบทความในวารสาร, ชื่อย่อหรือชื่อเต็มวารสาร ปี เดือน วันที่ (ถ้ามี), วารสารเป็นเล่มที่ (ฉบับที่), หน้าบทความที่อ้างถึง

ส่วนประกอบของบทความ

บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถกำหนดข้อหัวหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสมของบทความ)

  1. ชื่อเรื่อง (Title)
  2. บทคัดย่อ (Abstract) ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 250-300 คำ เป็นการสรุปเนื้อหาของบทความให้ได้ใจความชัดเจน
  3. คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ
  4. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา รวมทั้งระบุถึงขอบเขตเนื้อหาของบทความ
  5. เนื้อหา (Body of Text) เป็นส่วนหลักของเนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นออกเป็นเรื่องย่อยๆ และมีการจัดเรียงลำดับเป็นหัวข้อตามรายละเอียดของเนื้อหา
  6. สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน และกระชับโดยมีการสรุป ปิดท้ายเนื้อหาที่เราได้นำเสนอไปแล้วว่ามีผลดี หรือผลเสียอย่างไร
  7. เอกสารอ้างอิง (References) ควรเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือกำลังจะได้รับการตีพิมพ์ และระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงให้ครบถ้วน โดยใช้ตามรูปแบบ Vancouver Style

บทความวิจัย ควรมีการนำเสนอผลการวิจัยที่ได้รับอย่างเป็นระบบ โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสมของบทความ)

  1. ชื่อเรื่อง (Title)
  2. บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 250-300 คำ เป็นการสรุปสาระสำคัญของบทความ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการและผลการวิจัย)
  3. คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ
  4. บทนำ (Introduction) เป็นการอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลที่นำไปสู่การวิจัย มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือโต้แย้ง รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  5. วัตถุประสงค์ (Research Objectives) ระบุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
  6. วิธีการวิจัย (Research Methodology) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดและชัดเจน
  7. ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย การใช้ตารางหรือแผนภูมิ ไม่ควรเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบอย่างชัดเจน
  8. อภิปรายและสรุปผลผลการวิจัย (Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและตีความผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย
  9. สรุป (Conclusion) สรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์
  10. เอกสารอ้างอิง (References) ควรเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือกำลังจะได้รับการตีพิมพ์ และระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงให้ครบถ้วน โดยใช้ตามรูปแบบ Vancouver Style

ตัวอย่างบทความ

สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างบทความได้ที่นี่